
แรงบันดาลใจกับการทำงานของสมอง Neurotransmitters (สารสื่อประสาท)
เคยไหม!?!!
ตั้งใจว่าจะฝึกโยคะด้วยตัวเอง ตื่นแต่เช้า ปูเสื่อรอตั้งแต่เมื่อคืน!
นาทีแรก... “วันนี้สดชื่นจังฉันจะฝึกให้ได้ 1 ชม. ”
5 นาที ผ่านไป... “วันนี้ตึงๆไม่ค่อยยืดหยุ่นเลยแหะ”
10 นาที ผ่านไป... “รู้สึกไม่ค่อยมีแรงเลย สงสัยเมื่อคืนนอนดึก”
นาทีที่ 15... ”สงสัยวันนี้ร่างกายจะไม่พร้อม....พอแระนอนดีกว่า”
...เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้กันทุกคนครับ555
ทีนี้เรามาดูกันว่า เกิดอะไรขึ้นที่สมองของเรา
Neurotransmitters (สารสื่อประสาท) เป็นสารเคมี ที่คอยส่งสัญญาณจากเซลล์ประสาทตัวหนึ่ง ไปยังอีกตัวหนึ่ง ส่วนใหญ่อยู่ในสมองและไขสันหลัง มันมีบทบาทในการควบคุม การทำงานของร่างกาย
เวลาที่เราเกิดแรงบันดาลใจ ตั้งใจว่าจะทำอะไรดีๆให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ออกกำลังกาย ลดความอ้วน หรืออ่านหนังสือ เป็นต้น
สมองจะหลังสารเคมีที่ชื่อว่า Dopamine (โดปามีน) ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับความสุข ความพึงพอใจ แรงบันดาลใจ แต่ Dopamine นั้น อายุมันสั้นเหลือเกิน ทำให้เรารู้สึกถอดใจเอาได้ง่ายๆ
วิธีที่ทำให้ Dopamine หลั่งคือ เราต้องเลือกกิจกรรมที่รัก ฝึกหรือขอคำแนะนำกับคุณครูที่ชอบ หาบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจให้ได้
ทีนี้พอเริ่มการฝึกฝน สมองจะหลังสาร Acetylcholine (อะซิทีลโคลิน) ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ความคิด ความจำ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ซึ่งมันก็มีอายุสั้นเช่นกัน การเรียนรู้ของสมองนั้นต้องอาศัยการทำซ้ำ
เมื่อเราหากิจกรรมที่รักได้แล้ว ก็ไม่ควรตั้งเป้าหมายที่ใหญ่เกินไป ควรตั้งเป้าหมายเล็กๆ สำเร็จไปทีละเล็กทีละน้อย เพื่อให้มีกำลังใจ ทำต่อไปเรื่อยๆ ทำน้อยๆ ทำบ่อยๆ เริ่มต้นจาก 5-10นาทีก่อนก็ได้ แล้วค่อยเพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ
การฝึกซ้ำๆบ่อยๆ จนเป็นทักษะ สมองจะหลั่งสาร Glutamate (กลูตาเมท) สารที่เกี่ยวข้องกับความจำ การเรียนรู้ พัฒนาการ ทำให้การฝึกอย่างสม่ำเสมอนั้น กลายเป็นทักษะติดตัวไปตลอด
การฝึกโยคะอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเก็บรักษาความยืดหยุ่นและ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเอาไว้ ช่วยชำระล้างร่างกายทั้งภายนอกและภายใน สร้างความทนทานให้ร่างกาย ไม่เจ็บป่วยง่าย หรือถ้ามีอาการเจ็บป่วย ก็จะฟื้นตัวเร็วกว่าคนที่ไม่ได้ฝึกอย่างสม่ำเสมอ
รู้ความลับกันแบบนี้แล้ว สู้ๆนะครับ
ครูหลง