แชร์บทความนี้

The-neutral-yoga-content41

ทำท่าจตุรังคะไม่ได้ ทำเข่า-อก-คาง แทนได้ไหมครู?

ใครเคยถามครูโยคะแบบนี้บ้าง ยกมือขึ้น!

ในตอนนี้เรามาดูความแตกต่างขอทั้งสองท่ากันนะครับ

Eight Limbed Pose (Ashtanga Namaskar)

หรือที่เรารู้จักดีในชื่อท่า เข่า-อก-คาง, แปดส่วนสัมผัสพื้น, ท่าอัษฎางคนมัสการาสนะ ฯลฯ

ความหมายของท่า

Ashta =แปด

anga=ส่วนหรือกิ่ง

Namaskar = คำนับ,อ่อนน้อม,กราบไหว้

เราจะได้พบท่านี้ใน Classic Surya Namaskar และในคลาสหฐโยคะ เป็นส่วนใหญ่ ท่านี้ดูผิวเผินเหมือนจะไม่ยาก แต่สำหรับผู้ฝึกใหม่ ที่ช่วงบนของร่างกายยังค่อนข้างตึง กำลังของแขนน้อย ก็ยากพอสมควรเลย ผู้ฝึกใหม่สามารถนอนราบไปกับพื้น โดยใช้มือสองข้างวางข้างลำตัวได้ 

ประโยชน์

เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับ นิ้วเท้า ฝ่าเท้า สะโพก หลัง สบัก และคอ และในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ แกนกลาง หน้าท้อง อก  แขน หัวไหล่ และสบัก ด้วยเช่นกัน เหมาะสำหรับคลาสที่เราต้องการเปิดหรือเพิ่มพื้นที่ให้กับลำตัวทอนบน ช่วง คอ บ่า ไหล่ อก สบัก หลังบน

Four-Limbed Staff Pose (Chaturanga Dandasana)

ความหมายของท่า

Chatur =สี่

anga= ส่วนหรือกิ่ง

Danda=ไม้เท้า

เราจะได้พบท่านี้ใน Surya Namaskar A,B และคลาสวินยาสะโยคะ หรือคลาสอื่นๆ ที่ต้องการสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายท่อนบน ท่อนแขน ไหล่ อก หลังบน และแกนกลาง เป็นส่วนใหญ่ ท่านี้ใช้กำลังของลำตัวช่วงบนและแกนกลางของร่างกาย ค่อนข้างมาก ผู้ฝึกใหม่สามารถฝึกได้โดย วางเข่าลงพื้น และค่อยๆลดลำตัวลงช้าๆ

ประโยชน์

สร้างความแข็งให้ลำตัวช่วงบน ท่อนแขน ไหล่ อก หลังบน แกนกลาง จนไปถึงลำตัวท่อนล่าง

ถ้าเราต้องการเพิ่มระยะการเคลื่อนไหวของข้อต่อ เข่า-อก-คาง น่าจะเหมาะสมกว่า แต่ถ้าต้องเน้นการสร้างความแข็งแรง เราก็ฝึกท่าจตุรังคะ

แต่ถ้าทำจตุรังคะไม่ได้ แล้วต้องการที่จะสร้างความแข็งแรง ให้ช่วงบนของร่างกาย ก็แนะนำให้ วางเข่าลงพื้น แล้วค่อยๆงอศอกลง แนบลำตัว และลดอกลงช้าๆ ให้หัวไหล่ล้ำข้อมือไปด้านหน้า ลำตัวเป็นแนวเดียวกับต้นแขน หรือลงเท่าที่ทำได้ การฝึกบ่อยๆ ก็จะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงมากขึ้น จนสามารถทำท่านี้ได้ หรืออาจจะใช้บล๊อกช่วย เวลาที่ต้องการฝึกท่านี้โดยเฉพาะ

ยังมีเทคนิคในการฝึกท่านี้อีกมากมาย ค่อยๆฝึกกันนะครับ

ครูหลง

Facebook Comments Box

แชร์บทความนี้