
บำรุงสมองด้วยโยคะ
การฝึกโยคะด้วยความรู้สึกสงบและผ่อนคลาย ส่งผลดีต่อสมองและระบบประสาทเป็นอย่างมาก
ช่วยทำให้ส่วนสมองใหญ่ ซีรีบรัม (cerebrum) ผ่อนคลายลง ซึ่งโดยปกติแล้วสมองใหญ่ ต้องควบคุมการทำงานในหลายๆด้าน เช่น การเคลื่อนไหว การรับความรู้สึกต่างๆ การสร้างอารมณ์และพฤติกรรม การสร้างและประมวลความคิด การวิเคราะห์เหตุผล การสร้างภาษา ฯลฯ
และสมองส่วนล่าง (cerebellum) ท่ีรับผิดชอบ การรักษาสมดุลและการทรงตัวอยู่ในท่าอาสนะ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย และเป็นส่วนกลางของระบบประสาท สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น
หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน
นิวรอนหรือเซลล์ประสาท เป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential)
การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์
สมองสามารถแบ่งเป็นส่วนต่างๆได้ดังนี้
สมองส่วนหน้า (Forebrain)
มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีก ดังนี้
ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ ดมกลิ่น
ซีรีบรัม (Cerebrum) - มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พูดังนี้
1. Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
2. Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น
3. Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
4. Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส
ทาลามัส (Thalamus)
อยู่เหนือไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด
ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus)
ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุม การผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำ และสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ
สมองส่วนกลาง (Midbrain)
เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้าย และส่วนหน้ากับนัยน์ตา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตา และม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน
สมองส่วนท้าย (Hindbrain) ประกอบด้วย
พอนส์ (Pons)
อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัม ติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การหายใจ การฟัง
เมดัลลา (Medulla)
เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
ซีรีเบลลัม (Cerebellum)
อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
เราสามารถดูแลสมองของเราได้ง่ายๆโดย
หมั่นเรียนรู้อยู่เสมอ เพราะการเรียนรู้ การอ่าน การฟัง และการคิด จะช่วยเพิ่มโครงข่ายการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทให้ซับซ้อนขึ้น
รับประทานอาหารที่ดีต่อสมอง เช่น ปลา ไข่ ผักใบเขียว กรดไขมันโอเมก้า 3 และวิตามินหลายชนิด
หลีกเลี่ยงความเครียด เพราะจะส่งผลให้ขาดสมาธิ การตอบสนองต่อสิ่งที่รับรู้ช้าลง ทำให้การเรียนรู้ขาดประสิทธิภาพ กระวนกระวาย นอนไปหลับ และส่งผลเสียในระยะยาว
ระมัดระวังไม่ให้สมองถูกกระทบกระเทือน สมองที่บาดเจ็บเสียหายจะส่งผลร้ายแรงต่อการดำรงชีวิต
การฝึกโยคะไม่ได้มีประโยชน์แค่ทางร่ายกาย แต่ยังส่งผลดีกับระบบประสาทและสมองอีกด้วย
ครูหลง