
ชนิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ กับการฝึกโยคะ
ในการทำท่ายืนก้มตัว standing forward bend
บางคนเมื่อเข้าท่าแล้ว จะรู้สึกตึงที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (hamstring) แต่ก็ยังพยายามออกแรงไปยืดให้มากขึ้นอีก เพื่อจะได้ก้มลงได้เยอะๆ ซึ่งเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บได้
แต่ถ้าเรารู้วิธีการใช้กล้ามเนื้อคู่ตรงกันข้าม เราก็จะสามารถใช้แรงจากกล้ามเนื้อฝังตรงข้าม ของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (hamstring) ซึ่งก็คือกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า(Quadriceps femoris)ให้มากขึ้น เพื่อให้ส่งคำสั่งไปยับยัง กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (hamstring)ให้คลายตัวลงก็จะช่วยป้องกัน ความเสี่ยงของอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ชนิดของการหดตัวของกล้ามเนื้อหลักๆแบ่งเป็น 2 ประเภท
Isotonic Contraction (Iso=เท่ากับ,Tonic มาจากคำว่าTone =ความตึงตัว)
คือการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยที่ความตึงตัวของกล้ามเนื้อไม่เปลี่ยนแปลง แต่ความยาวของกล้ามเนื้อเปลี่ยนแปลง
ซึ่งการหดตัวของกล้ามเนื้อ จะเป็นในลักษณะสั้นเข้าและยาวออก เป็นผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. Concentric Contraction คือ การหดตัวของกล้ามเนื้อสั้นเข้าและหนาขึ้น
2. Eccentric Contraction คือ การหดตัวของกล้ามเนื้อยาวออกหรือถูกเหยียดตัวออก
ซึ่งทั้งสองจะทำงานแบบกล้ามเนื้อคู่ตรงข้าม หรือ antagonistic pair ข้างหนึ่งกล้ามเนื้อหดตัวแบบสั้นเข้า และอีกข้างหนึ่งกล้ามเนื้อจะหดตัวแบบยาวออก กล้ามเนื้อที่หดสั้น เราเรียกว่า กล้ามเนื้อตัวทำการ หรือ agonist ส่วนกล้ามเนื้อที่หดตัวแบบยาวออก เราเรียกว่า กล้ามเนื้อตัวต้าน หรือ antagonist
ตัวอย่างเช่น
เมื่อเรางอศอกเข้า (flexion) กล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นแขน (Biceps brachii) จะหดตัวสันลง (agonist) ส่วนกล้ามเนื้อด้านหลังของต้นแขน (triceps brachii) จะหดตัวยาวออก หรือคลายตัว (antagonist)
และเมื่อเราเหยียดแขนออก (Extension) กล้ามเนื้อด้านหลังของต้นแขน (triceps brachii) จะหดตัวสั้นลง (agonist) ส่วนกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นแขน (Biceps brachii) จะหดตัวยาวออก หรือคลายตัว (antagonist) โดยมีข้อศอกเป็นจุดหมุน
เมื่อกล้ามเนื้อใดกล้ามเนื้อหนึ่งหดตัว จะเป็นกล้ามเนื้อตัวทำการ หรือ agonist ตัวรับรู้ความรู้สึก จะมีการส่งกระแสประสาทไปยับยั้งกล้ามเนื้อตัวต้าน หรือ antagonist ให้มีการคลายตัวลง เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายได้
ส่วนการหดตัวกล้ามเนื้ออีกแบบหนึ่งเราจะเรียกว่า
Isometric Contraction (Iso=เท่ากับ, Metric=ความยาว=length)
คือ ความยาวของกล้ามเนื้อจะไม่เปลี่ยนแปลง
แต่ความตึงตัวจะเพิ่มมากขึ้นตามลักษณะของการหดตัว
เราสามารถใช้ความรู้เรื่องนี้ไปใช้ได้ในการฝึกโยคะ เช่น เทคนิคในการทำอาร์มบาลานซ์ โดยการออกแรงกระชับกล้ามเนื้อแขน อก ท้อง เพื่อช่วยในการทรงตัวที่มั่นคงได้
การใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมในการฝึกโยคะนั้นจะช่วย เสริมสร้าง ฟื้นฟู และป้องกันอาการบาดเจ็บให้กล้ามเนื้อได้ เป็นอย่างดี
ครูหลง