
กลไกการทำงานของการยืดกล้ามเนื้อ
ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้ ชนิดของการยืดกล้ามเนื้อ เราควรที่จะรู้เรื่อง Muscle reflex ว่าทำไมกล้ามเนื้อถึงยืดเหยียดได้
ความรู้ในเรื่องนี้ มีประโยชน์กับคุณครูและผู้ฝึกโยคะมากๆครับ
กลไกการยืดเหยียดกล้าม เนื้อเริ่มต้นจาก
ตัวรับความรู้สึกกล้ามเนื้อกระสวย (muscle spindle)
จะเป็นตัวรับรู้ความรู้สึก ในขณะที่กล้ามเนื้อยืดออก
แล้วส่งกระแสประสาทไปยัง...เซลล์ประสาทรับรู้ขาเข้า (Afferrent neuron)
แล้วส่งต่อไปยัง...ประสาทไขสันหลัง (spinal cord)
แล้วส่งคำสังกลับมา ที่ใยกล้ามเนื้อกระสวย โดยผ่าน...เซลล์ประสาทยนต์ (efferent neuron)
การหดตัวของกล้ามเนื้อจึงเกิดขึ้น
นอกจากนี้ยังมีกลไก ในส่วนการยืดของเอ็นกล้ามเนื้ออีกด้วย
ตัวรับรู้ความรู้สึกในเอ็นกล้ามเนื้อ (golgi tendon organ)
พอกล้ามเนื้อหดตัว ตัวรับความรู้สึกกอลใจ ถูกกระตุ้นทำให้กล้ามเนื้อยืดยาวออก ซึ่งกลไกนี้จะเกิดขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ความตึงในกล้ามเนื้ออย่างช้าๆเบาๆ แล้วค้างไว้เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีกลไกของกระแสประสาท ที่ส่งข้อมูลจากกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง เพื่อไปยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อฝั่งตรงข้าม และยอมให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่ได้รับการกระตุ้นอยู่
ประโยชน์ของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
- ทำให้สมรรถนะของร่างกายดีขึ้น
- ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ และช่วยให้มีท่าทางที่ดีและสมดุลขึ้น
- เพิ่มเลือดและสารอาหาร ไปสู่เนื้อเยื่อมากขึ้น
- เพิ่มองศาของการเคลื่อนไหวของร่างกาย
- เพิ่มประสิทธิภาพในการหดตัวของกล้ามเนื้อ
รูปแบบของการยืดเหยียดมี 3 แบบ ได้แก่
1.Static stretching
คือการยืดเหยียดแบบค้างท่าไว้ระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงคลายลง
ซึ่งการฝึกโยคะส่วนมากจะเป็นการยืดเหยียดแบบนี้
2.Ballistic stretching
คือการยืดเหยียดเป็นจังหวะ หรือ ยืด-คลาย ยืด-คลาย สลับกัน
ซึ่งจะไปกระตุ้นการคลายตัวได้เช่นกัน และเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อด้านในพร้อมทำงานด้วย พอกล้ามเนื้อคลายตัวก็จะอยู่ในตำแหน่งพี่พร้อมจะทำงานได้ทันที ซึ่งพบได้บ้างในการฝึกโยคะ
3.Proprioceptive neuromuscular facilitation (PNF) stretching
คือ การยืดเหยียดแบบกระตุ้นระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
ซึ่งมีการส่งคำสั่งเป็นสองลักษณะ คือ
1.การส่งคำสังยังยั้งกล้ามเนื้อที่หดตัว (autogenic inhibition)
คือการเกร็งกล้ามเนื้อจนกล้ามเนื้อที่เกรงอยู่นั้นคลายตัวลง
2.การส่งคำสังยับยั้งกล้ามเนื้อคู่ตรงกันข้าม (reciprocal inhibition)
คือการเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อให้กล้ามเนื้อคู่ตรงข้ามคลายตัวลง
เราสามารถทำด้วยตัวเองหรือมีคนช่วยก็ได้ แต่ต้องมีความรู้ความเข้าในการทำงานของกล้ามเนื้อด้วย
ครูหลง