แชร์บทความนี้

The-neutral-yoga-content1

ฝึกโยคะยืดได้แค่ไหน?

กล้ามเนื้อ พังผืด เอ็น เส้นเลือด เส้นประสาท ล้วนมีเพดานของการยืดทั้งสิ้น แต่ละอย่างมีค่าความแข็งที่ไม่เท่ากัน ทำให้เพดานของการยืดไม่เท่ากันด้วย

หากเรายืดจนเกินเพดานของมัน ก็จะเกิดความเสียหายหรือบาดเจ็บได้ การรู้ข้อจำกัดหรือเพดานของการยืด ก็จะช่วยให้เราลดความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บได้

ขณะที่เราฝึกโยคะ เราไม่ได้ยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างเดียว เมื่อกล้ามเนื้อถูกยืด >กระดูกก็เคลื่อน >เส้นเลือดยืด >เส้นประสาทยืด

เราอาจจะสงสัยว่า ตอนที่เรายืดอยู่นั้น มันถึงเพดานของการยืดแล้วหรือยัง?... เราต้องดูที่ความรู้สึก ที่ตึงพอดีๆ และที่สำคัญคือ ต้องไม่เจ็บ (pain free)

จากรูปเราจะเห็นได้ว่า
1.toe region คือ ช่วงเริ่มต้น จากเนื้อเยื่อยังที่อยู่ในลักษณะที่หย่อนตัว แล้วเมื่อเริ่มออกแรงยืด ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเล็กน้อย

2.elastic region คือ ช่วงที่เราออกแรงยืด เนื้อเยื่อมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แต่เมื่อหยุด เนื้อเยื่อยังสามารถกลับคืนสู่รูปร่างเดิมได้

3.elastic limit เป็นจุดสุดท้ายของการยืด เนื้อเยื่อยังกลับคืนสู่รูปร่างเดิมได้โดยสมบรูณ์

4.plastic region ช่วงที่เนื้อเยื่อเริ่มมีการยืดคราก เสียรูปร่างไป แม้ว่าจะหยุดยืดแล้ว แต่เนื้อเยื่อก็ไม่สามารถกลับคืนสู่รูปร่างเดิมได้

5.ultimate stress ช่วงที่ตึงสุดๆและเจ็บ เป็นจุดที่แสดงให้เห็นว่า หากออกแรงมากขึ้นกว่านี้ จะมีขาดหรือการเสียหาย

6.necking เป็นช่วงที่เนื้อเยื่อมีความเสียหาย การบาดเจ็บเกิดขึ้น

7.failure point เป็นจุดที่เนื้อเยื่อมีความเสียหายอย่างสมบรูณ์

การฝึกโยคะนั้น ไม่ใช่การยืดเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถเพิ่มความแข็งแรง และมุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อให้ดีขึ้นได้ การยืดที่มากเกินไป ก็อาจทำให้สูญเสียความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเกิดอาการบาดเจ็บที่จุดต่างๆของร่างกายได้

ร่างกายของเรา เราต้องดูแล รู้จักขีดจำกัดของตัวเอง ฝึกแบบเมตตาตัวเอง เข้าใจว่าร่างกายในแต่ละวันนั้น มีความพร้อมที่ไม่เหมือนกัน วันก่อนทำได้ วันนี้อาจทำไม่ได้ นั้นเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ควรฝืนร่างกายมากจนเกินไป แต่ก็ไม่หย่อนยานเกินไป หาจุดที่พอดีสำหรับเรา เพราะไม่มีใครรู้จักร่างกายของเรา ได้ดีเท่าตัวเราเอง ถามตัวเองบ่อย ๆ ว่าสิ่งที่เราฝึกอยู่ในตอนนี้ กำลังพาตัวเองไปไหน?

ขอให้มีความสุขกับการฝึกโยคะนะครับ
ครูหลง

Facebook Comments Box

แชร์บทความนี้