
โยคะบำรุงระบบประสาท
การฝึกโยคะช่วยให้ระบบประสาทผ่อนคลาย ลดการทำงานทางด้านความคิด ตึงเครียด และอารมณ์ ถ้าได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดการพัฒนาพฤติกรรมที่ดี ทั้งด้านร่างกาย สภาวะอารมณ์และจิตใจ
หน้าที่ของระบบประสาท ได้แก่ การรับความรู้สึก การตอบสนอง และเกี่ยวข้องกับการแสดงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล การเรียนรู้ การจดจำ
ระบบประสาทแบ่งออกได้เป็น
1.ระบบประสาทกลาง (central nervous system,PNS) ได้แก่ สมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุม การรับรู้ และประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
2.ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous system,PNS) ซึ่งประกอบด้วย เส้นประสาทสมอง 12คู่ และเส้นประสาทไขสันหลัง31คู่
และระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervoud system,ANS) ที่ประกอบด้วย sympathetic และ parasympathetic ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System-SNS)
มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะ ซึ่งทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ มีศูนย์กลางอยู่ที่ไขสันหลังระดับอกและเอว โดยเซลล์ประสาทในระบบนี้ จะมีขนาดสั้น เรามักรู้จักระบบประสาทซิมพาเทติกในแง่ของ การตื่นตัวของร่างกาย
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nervous System-PNS)
มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะ ซึ่งทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ เช่นเดียวกับระบบประสาทซิมพาเทติก มีศูนย์กลางอยู่ที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3, 7, 9, 10 และไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ โดยจะทำงานควบคู่กับระบบประสาทซิมพาเทติก เพื่อให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติหรือภาวะผ่อนคลาย (Rest and Digest)
ผลต่อหัวใจ
ประสาทซิมพาเตติก ทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรง
ประสาทพาราซิมพาเตติก ทำให้หัวใจเต้นช้าและเบา
ผลต่อม่านตา
ประสาทซิมพาเตติก ทำให้ม่านตาขยาย
ประสาทพาราซิมพาเตติก ทำให้ม่านตาหดเล็ก
ผลต่อความดันโลหิต
ประสาทซิมพาเตติก ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ประสาทพาราซิมพาเตติก ทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง
ผลต่อต่อมเหงื่อ
ประสาทซิมพาเตติก ทำให้เหงื่อออกมาก
ประสาทพาราซิมพาเตติก ทำให้เหงื่อออกน้อยลง
ผลต่ออุณหภูมิร่างกาย
ประสาทซิมพาเตติก ทำให้อุณหภูมิกายเพิ่มขึ้น
ประสาทพาราซิมพาเตติก ทำให้อุณหภูมิกายลดลง เป็นต้น
การฝึกการหายใจให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหว ไปในท่าต่างๆ ของโยคะ สร้างการจดจ่อ ฝึกสมาธิ สร้างความสมดุลให้กายและจิต ช่วยให้ระบบประสาทผ่อนคลาย
การหายใจที่ช้าลงและลึกขึ้น ช่วยให้จิตใจสงบ ลดความกระวนกระวายใจ การนอนหลับดีขึ้น และผู้ฝึกสามารถรับรู้ท่าทางการเคลื่อนไหว ที่ไม่ถูกต้องของตนเองได้เร็วขึ้น การทรงตัวดีขึ้น
ครูหลง