แชร์บทความนี้

The-neutral-yoga-content18

ปราณายามะ

การฝึกโยคะอาสนะ และปราณยามะ หากมองเพียงผิวเผิน อาจจะเห็นว่า เป็นเพียงการเสริมสมรรถนะทางกาย และเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบหายใจเท่านั้น

ตามปัญชลีโยคะสูตร เริ่มต้นประโยคที่ว่า “โยคะเป็นไปเพื่อดับการปรุงแต่งของจิต” 

ก็จะเห็นได้ว่า  จุดมุ่งหมายของโยคะนั้น เป็นไปเพื่อการจัดการกับจิต

ในตอนนี้เราจะพูดถึงเรื่องการฝึกปราณายมะกันครับ

การฝึกปราณายมะนั้น มีผลดีต่อต่อสุขภาพทางร่างกายมากๆ แต่อีกจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การทำให้มีความมั่นคงในอารมณ์ และความสงบของจิต ซึ่งสิ่งนี้มีคุณค่ามาก สำหรับในยุคปัจจุบัน ที่มีสิ่งเร้าทางอารมณ์ และความสับสนวุ่นวายให้กับจิตมากมาย

คำว่า ปราณะ หมายถึง ลมหายใจ ส่วนคำว่า อยามะ หมายถึงการควบคุม เพราะฉะนั้นคำว่า ปราณายามะ จึงหมายถึง การฝึกควบคุมลมหายใจ

ปราณายามะคือ การควบคุมระบบหายใจ เพื่อพัฒนาความสามารถ ที่จะควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ 

ระบบประสาท แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้2ระบบ คือระบบประสาทกลาง (CNS) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการควบคุมของร่างกาย การเคลื่อนไหว การพูด ที่เป็นไปตามการสั่งการของเรา

และระบบประสาทอัตโนมัติ (ANS) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะ ซึ่งทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ เช่นการเต้นของหัวใจ การย่อยอาหารเป็นต้น

ซี่งแบ่งย่อยได้อีก 2 ระบบคือ ระบบประสาทซิมพาเทติก (SNS) ทำหน้าที่อัตโนมัติในการกระตุ้นตื่นตัว และ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (PNS) ทำหน้าที่อัตโนมัติในการคลาย ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ในตอนก่อนหน้านี้

สิ่งที่หน้าสนใจคือ ระบบหายใจสามารถสั่งการ ได้จากระบบประสาททั้ง 2 ส่วน คือเราสามารถหายใจไปเองตามธรรมชาติก็ได้ ด้วยระบบประสาทอัตโนมัติ และเราก็สามารถควบคุมการหายใจ ได้ด้วยระบบประสาทส่วนกลาง แต่ทำได้อย่างจำกัด เช่น เมื่อเราตั้งใจกลั้นลมหายใจไปสักครู่หนึ่ง เราก็ต้องกลับมาหายใจ ตามคำสั่งของระบบประสาทอัตโนมัติ

และด้วยธรรมชาติของระบบหายใจเช่นนี้ การฝึกควบคุมลมหายใจ จึงไม่น่าจะเป็นเพียงการฝึกฝน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบหายใจเท่านั้น แต่เป็นการฝึกที่จะเข้าถึง การควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติด้วย

การฝึกปราณายามะก็คือการฝึกควบคุมกล้ามเนื้อของระบบหายใจ การที่เราควบคุมกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจผ่านระบบประสาทส่วนกลางอย่างสม่ำเสมอ ก็จะส่งผลให้เรามีช่องทางที่จะควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติได้ โดยเป้าหมายคือการควบคุม จิต และอารมณ์ต่างๆ นั่นเอง

ครูหลง

.................................................

ข้อมูลส่วนหนึ่งจากสถาบันโยคะวิชาการ

ขอบพระคุณครับ

Facebook Comments Box

แชร์บทความนี้